บทที่ 1 หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินการเรียนรู้

           บทที่ 1 หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินการเรียนรู้

          การวัดและประเมินผลในระบบศึกษามักถูกวิพากษ์ว่า ไม่เอื้อต่อการพัฒนาคนให้มีลักษณะ "มองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้" เนื่องจากการประเมินการเรียนรู้ที่ผ่านมามีความเชื่อ ดังนี้
         (1) ผู้เรียนทุกคนโดยพื้นฐานแล้วเหมือนกันและเรียนรู้ด้วยวิธีการเดียวกัน ดังนั้นการเรียนการสอนและการประเมินจึงใช้มาตรฐานแบบเดียวกัน
         (2) ตัวบ่งชี้ความรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แม่นยำที่สุด คือ คะแนนที่ได้รับจากแบบสอบอิงเกณฑ์หรืออิงกลุ่มเท่านั้น
         (3) แบบทดสอบประเภทกา ขีด เขียนตอบเป็นวิธีการที่ถูกต้องแม่นยำเพียงวิธีเดียวที่ใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน
         (4) การประเมินต้องแยกจากการเรียนการสอนโดยจัดสถานที่และวิธีการเฉพาะสำหรับการประเมิน
         (5) มุ่งเน้นการตัดสินแข่งขันตัวข้อสอบวัดจึงเป็นความลับที่ต้องปกปิด
         (6) ใช้การประเมินเพื่อบ่งบอกว่าใครได้-ตก และเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียน (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, 2545; รพีพรรณ เอกสุภาพันธ์, 2541) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย การนำเสนอเนื้อหาในหน่วยนี้จึงมุ่งเน้น 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่
                  1.แนวคิดและหลักการวัดและปนะเมินการเรียนรู้
                  2.รูปแบบการวัดและปนะเมินการเรียนรู้

1.แนวคิดของการวัดและประเมินการเรียนรู้ 

         1.1 แนวคิดของการวัดและประเมินการเรียนรู้ 

         แนวคิดที่สำคัญของการวัดและประเมินการเรียนรู้ ในที่นี้ขอนำเสนอแนวคิดการวัดและประเมินการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ความหมาย ความสำคัญของการวัดและประเมินผล องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม และหลักการวัดและประเมินการเรียนรู้
         แนวคิดการวัดและประเมินการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาเป็นการวัดและประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้ก้าวหน้าสูงสุดเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้เต็มตามศักยภาพ ดังนั้รการวัดและประเมินผลจึงมีจุดเน้นที่เปลี่ยนไปจากเดิมพอสรุปได้ดังนี้ (โชติกา ภาษีผล, 2556)
         1) จากรูปแบบการวัดและการประเมินผลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกคน เป๋นการวัดที่ประเมินผลตามศักยภาพของแต่ล่ะคน
         2) จากการใช้แบบทดสอบอย่างเดียว เป็นการใช้เครื่องมือการวัดที่หลากหลาย
         3) จากการวัดและการประดมินผลที่แยกจากหลักสูตรที่มีการวัดและการประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน เป็นกลมกลืนกันหลักสูตรและการรียนการสอน มีการวัดและการประเมินผลระหว่างที่มีการเรียนการสอน
         4) จากการวัดและการประเมินผลโดยครู เป็นการวัดและการประเมินผลที่เปิดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วม
         5) จากการวัดที่เน้นคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว เป็นเน้นวิธีการเรีนนรู้ วิธีการคิด และคำตอบที่ถูกต้องอาจมีความหลากหลาย
         6) จากากการวัดที่เน้นเครื่องมือที่สะดวกและง่ายในการให้คะแนนและหารสอบ เป็ยการวัดที่เน้นประโยชน์ที่เกิดกับตัวผู้เรียน และช่วยพัฒนาผู้เรียน
         7) จากการประเมินผลที่มุ่งบอกใครตก มีการเปรียบเทียบ เป็นการเน้นการเพิ่มและการเสริมกำลังใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ถ่ายโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง
         8) จากการวีดและการประเมินผลที่มุ่งแข่งขัน ปกปิด และเป็นความลับ เป็นมุ่งการพัฒนาและปรับปรุง กิจกรรมที่ใช้ใน การวัดและประเมิน
         9) จากการเน้นการเรียนการสอนในเนื้อหา เป็นการเน้นสติปัญญา กระบวนการสาระของหลักสูตรและข้อมูลการเรัยนรู้ พัฒนาการของทักษะความคิด
         10) จาการบรรลุผลสำเร็จตามแบบทดสอบ เป็นการถ่ายโยงความรู้ไปสู่ชีวิตประจำวัน (วิชาชีพ)
         จะเห็นว่า การวัดและการประเมินผลตามการปฎิรูปการศึกษาให้ ความสำคัญกับการพัฒนาการของผู้เรียน เน้นการประเมินตามสภาพจริง ที่เป็นไปตามจริง พระราชบัญญัติการศึกษา ในหมวด 4 มาตรา 26 คือ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจาก พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมชองแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา และให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาส การเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการเรียนในวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบพิจารณาด้วย

         1.2 ความหมายของการวัด การประเมินผล และการประเมินคุณค่าความหมายของการวัดผล (Measurement)

         ศิริชัย กาญจนวาสี (2556) ได้ให้ความหมายว่า กระบวนการกำหนดค่าเป็นตัวเลขให้แก่สิ่งต่างๆอย่างมีกฎเกณฑ์การวัดวิ่งใดก็ตามจะเกิดขึ้นได้ต้งอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ เครื่องมือ หน่วยการวัด และมาตรฐานเปรียบเทียบ
         เยาวดี วิบูลย์ศรี (2539) ให้ความหมายว่าการวัดผล หมายถึง กระบวนการบ่งชี้ผลผลิตหรือคุณลักษณะที่วัดได้จากเครื่องมือวัดผลประเภทใดประเภทหนึ่งอย่างมีระบบดังนิยามที่ว่าการวัดผล คือ การกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้
         สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2541) ให้ความหมายเกี่ยวกับการวัดว่า กระบวนการกำหนดตัวเลขเพื่อแทนคุณสมบัติของสิ่งของหรือเหตุการณ์ใดๆอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้

สรุป การวัดผล หมายถึง กระบวนการกำหนดค่าให้แก่สิ่งต่างๆอย่าวมีกฎเกณฑ์การวัดสิ่งใดก็ตามจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วนได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายขอการวัด 2) เครื่องมือที่ใช้วัด 3) การแปลผลผลที่ได้ออกมาจะเป็นปริมาณ (Quantity) ซึ่งก็คือจำนวนตัวเลข (Number) เพื่อแทนจำนวนหรือปริมาณหรือคุณภาพของคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของวัตถุบุคคลหรือเหตุการต่างๆ

         ความหมายของการประเมินผล (Evaluation)

         ในด้านการประเมินผลได้มีผู้ให้ความหมายของการประเมินผลหลายท่านดังต่อไปนี้
         ศิริชัย กาญจนวาสี (2556) คือ กระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานการประเมินจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "คุณค่า" ของสิ่งต่างๆการปนะเมินสิ่งใดก็ตามจะต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ 1) ผลจากการวัด 2) เกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3) การตัดสินคุณค่า
         สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2541) คือ กระบวนการใช้ดุลยพินิจ (Judgment) และ/หรือค่านิยมและข้อจำกัดต่างๆในการพิจารณาตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการเปรียบเทียบผลที่วัดได้กับเกณฑ์ที่กำหนดอาจเป็นเกณฑ์แบบสัมพัทธ์หรืออิ่งกลุ่มหรือเกณฑ์สัมบูรณ์

สรุป การประเมินผลเป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวัดกระบวนการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานการประเมินจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "คุณค่า" ของสิ่งต่างๆการประเมินสิ่งใดก็ตามจะต้องอาซัยองค์ประกอบ 3 ส่วนได้แก่ 1) ผลจากการวัด 2) เกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) การตัดสินคุณค่า

         ความหมายของการประเมินคุณค่า (Assessment)

         อุทุมพร จามรมาน (2540) ใช้คำว่า " การตีค่า" ซึ่งเน้นคุณลักษณะการบรรยายมากกว่าการกำหนดตัวเลข
         ศิริชัย กาญจนวาสี (2556) ใช้คำว่า "การประเมิน"    โดยให้ความหมายว่าเป็นการบรรยายอย่างลุ่มลึกเป็นอย่างมาก ซึ่งนิยามนี้ได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดของ Stake ซึ่งเน้นว่าผู้ประเมินจะต้องบรรยายความสัมพันธ์และความสอดคล้องของสิ่งที่คาดหวังที่จะเกดขึ้นจริงและมาตรฐานให้ครอบคลุมสิ่งที่มุ่งประเมินทั้งในแง่เงื่อนไงก่อนเริ่มโครงการ ปฎิสัมพันธ์ระหว่างโครงการกับผู้ร่วมโครงการ ตลอดจนผลลัพธ์ของโครงการ
         บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2547) อธิบายความหมายไว้ว่าการประเมิน หมายถึง กระบวนการรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบสำหรับใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับผู้เรียนให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความก้าวหน้าจุดเด่นจุดด้อย ใช้ตัดสินประสิทธิภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และความพอเพียงของหลักสูตรและใช้ชี้แนะนโยบายจะเห็นได้ว่าคำว่า "Assessment" มีผู้ใช้ภาษาไทยอยู่หลายคำ ดังนั้นเพือให้เข้าใจตรงกันในที่นี้จะใช้คำภาษาไทยว่า " การประเมินคุณค่า"
         ดังนั้น จากความหมายของการวัดผลการประเมินผลและการประเมินคุณค่าจะเห็นได้ว่ามีวินัยของความหมายแตกต่างกัน โดยการประเมินผลเป็นการประเมินที่อาศัยข้อมูลที่ได้จาการวัดผลเป็นสำคัญมีการตีค่าส่งที่ประเมินจากเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นอย่างชัดเจนส่วนการประเมินคุณค่าเป็นการประเมินที่มุ่งใช้เทคนิคทางมนุษย์วิทยา (ศินิชัย กาญจนวาสี,2556) เพื่อให้ได้ข้อสารสนเทศอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกประเมินการตัดสินคุณค่าจะไม่เกิดขึ้นจากข้อสารสนเทศนั้นจนกว่าจะได้รับการพิจารณาจากผู้ใช้สารสนเทศ

         1.3 ความสำคัญของการวัดและประเมินผล 

         มีความในการเรียนการสอน และมีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์การสอน และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยที่การเรียนการสอนประกอบด้วยหลักสูตร ที่ต้องมีจุดประสงค์การสอน อันเป็นลักษณะพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อสิ้นการเรียนการสอน บ่งบอกถึงพฤติกรรมได้ครอบคลุม ครบถ้วนตามกรอบของเนื้อหา ตลอดจนมีความเป็นไปได้ เรียงลำดับตามขันตอนก่อนหลัง ไม่ซ้ำซ้อนและเหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียน
         การวัดและการประเมินผลต่องดำเนินควบคู่ไปกับการเรียนการสอน เป็นการประเมินสภาพจริงที่ให้ข้อมูลสารสนเทศที่เที่ยงตรง เชื่อถือได้เกี่ยวกับผู้เรียนและกระบวนการทางการเรียนรู้ ดังมีความสัมพันธ์ดังภาพ
ภาพที่1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและกระบวนการเรัยนรู้


         1.4 องค์ประกอบของผลการเรียนรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม

         การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลจากพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากประสบการณ์ของการที่บุคคลมีปฎิสัมพันธ์จากสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด พฤติกรรมดังกล่าว อาจเป็นเรื่องของการอ่าน การเขียน การคิด หรือการฝึกทักษะต่างๆก็ได้ที้งสิ้น
         การประเมินการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการรวบรวมและเรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลจากพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อย่างเป็นระบบ ให้ขอมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกะบความก้าวหน้า ตามแนวคิดและทฤษฎีของบลูม (Bloom) กานเย่ (Gagne) ในที่นี้จะขอเสนอแนวคิดและทฤษฎีของบลูม ดังมีราบละเอียดในหัวข้อต่อไปนี้
         1) ด้านพุทธิพิสัย(Cognitive domain) เป็นการเรียนรู้ด้านความรู้ ความเข้าใจ และความคิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถทางสติปัญญา เช่น ความจำ ความคิด การเลือกวิธีแก้ปัญหา เป็นต้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในส่วนของสมอง
         บลูมและคณะได้ศึกษาวิจัยการเรียนรู้ด้านความรู้ ความคิดของมนุษย์ พบว่า โครงสร้างของพุทธิพิสัยประกอบด้วยความสามรถทางสติปัญญา จากง่ายสู่สิ่งที่ซับซ้อน และจากรูปธรรมสู่นามธรรม ซึ่งสามารถจำแนกขั้นตอนการเรียนรู้ได้เป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ (Bloom's Taxonomy)

                     (1) ความรู้ความจำ ( Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำหรือระลึกถึงสิ่งของเรื่องราว ตามเนื้อหาที่ได้เรียนหรือได้ประสบการณ์ไปแล้ว
                     (2) ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถในการแปลความหมาย ตความหมาย สรุปความด้วยคำพูดตนเอง หรือสรุปแนวโน้มจากข่าวสารที่ได้
                     (3) การนำไปใช้ (Application) เป็นความสามรถในการเลือกใช้กฎหลักการ หรือกระบวนการที่เหมาะสม สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ใหม่
                     (4) การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนประกอบ ความสัมพันธ์ หรือหลักการ แยกออกจากกันเป็นส่วนประประกอบย่อยๆ
                     (5) การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการจัดการรวมส่วนประกอบย่อยๆ ข้อความ แผนงาน หรือหลักการ รวามเข้าด้วยกันเป็นรูปแบบโครงสร้าง
                     (6) การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามรถในการตัดสินคุณค่าของสิ่งของ กระบวนการ ผลผลิต หรือแนวคิด โดยใช้หลักการแห่งเหตุผลภายในหรือพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานจากภายนอก
         2001 มีนักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Anderson (ลูกศิษย์ของ Bloom) และ Krathwohl ปรับปรุ่งกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ และสะท้อนผลงานในศตวรรษ 21 ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Bloom’s Taxonomy

ภาพที่ 1.2 การเปรียบเทียบความหมายและพฤติกรรมเรียนรู้ที่วัดได้ตามแนวความคิดของ Bloom และ Anderson และ Krathwohl


ตารางที่ 1.1 ความหมายและพฤติกรรมเรียนรู้ที่วัดได้ตามแนวคิดของ Anderson และ Krathwohl

         2) ด้านจิตพิสัย (Affective domain) เป็นการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก ซึ่งเกี่ยวกับค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เจตคติ
         แครธโวล บลูม และมาเซีย ได้ศึกษาวิจัยการเรียนรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์ และแบ่งระดับการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยที่พัฒนาขึ้นในตัวบุคคลจากระดับต่ำจนถึงระดับสูงไว้ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
                  (1) การรับรู้หรือารใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiveing or attending) คือ การที่บุคคลถูกกระตุ้นให้รับรู้ต่อสิ่งเร้าหรือปรากฎการณ์บางอย่างที่อยู่รอบตัว ทำให้เกิดความตระหนัก ความตั้งใจ ที่จะรับรู้และให้ความสนใจต่อสิ่งเร้านั้น
                  (2) การตอบสนอง (Responding) เมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าจนเกิดความสนใจอย่างเต็มที่ บุคคลจึงยินยอมหรือเต็มใจที่จะตอบสนองและสร้างความพึงพอใจจากการตอบสนองและสร้างความพึงพอใจจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น
                  (3) การเห็นคุณค่า (Valuing) การที่บุคคลมีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าสำหรับตน แสดงความชอบสิ่งนั้นมากกว่าสิ่งอื่น และสร้างความผูกพันที่อุทิศตนเพื่อค่านิยมนั้น
                  (4) การจัดระบบค่านิยม (Organization) เมื่อบุคคลยอมรับและเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้นแล้ว บุคคลจะรวบรวมค่านิยมต่างๆที่สัมพันธ์กันให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน อาจทำการเปรียบเทียบจัดลำดับความสำคัญของค่านิยม พร้อมทั้งกำหนดแนวทางของพฤติกรรมหรือการแสดงออกตัวอย่าง
                  (5) การแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization) การที่บุคคลนำระบบค่านิยมที่สร้างขึ้นมาผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพและปรัชญาชีวิต
         3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor domain / Skill domain) เป็นการเรียนรู้ด้านทักษะ การปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย การประสานงานของการใช้อวัยวะต่างๆ เช่น การเขียน การอ่าน การพูด การวาดภาพ การเล่นฟุตบอล เป็นต้น ทักษะพิสัยเป็นทักษะทางร่างกายเกี่ยวกับการประสานงานของประสาท (สมอง) และกล้ามเนื้อ ซึ่งเน้นความคล่องแคล่ว รวดเร็ว ถูกต้อง และชำนาญ ตามความจริงแล้วทักษะพิสัยรวมอยู่ในการเรียนรู้ทุกอย่าง โดยจำแนกเป็น 7 ระดับดังนี้
         (1) การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Perception) การใช้ระบบประสาททั้ง 5 ได้แก่ หู ตา ปาก จมูก ลิ้น และผิวกาย
         (2) ความพร้อมที่จะปฏิบัติ (Set) การเตรียมความพร้อมทางด้านสมอง อารมณ์ และร่างกาย ที่จะปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ
         (3) การปฏิบัติตามข้อแนะนำ (Guided response) การลงมือปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบและการลองถูกลองผิด
         (4) การปฏิบัติจนเป็นนิสัย (Mechanism) ปฏิบัติตามลำดับขั้นได้อย่างต่อเนื่องด้วยความมั่นใจจนเกิดความเคยชินติดเป็นนิสัย
         (5) การปฏิบัติที่สลับซับซ้อน (Complex overt response) ปฏิบัติกิจกรรมที่สลับซับซ้อนขึ้นโดยไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก และกระทำได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ
         (6) การปรับเปลี่ยนปฏิบัติการ (Adaptation) ปรับเปลี่ยนหรือพลิกแพลงปฏิบัติการให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
         (7) การสร้างปฏิบัติการใหม่ (Origination) การสร้าง ปฏิบัติการขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง โดยอาศัยการปรับปรุงปฏิบัติการเก่าที่เคยทำมา

         1.5 หลักการวัดและประเมินการเรียนรู้

         1) กำหนดจุดมุ่งหมายของการวัดและการประเมินผลให้ชัดเจน หลักสำคัญของขั้นตอนนี้คือ ต้องตอบคำถามว่าวัดและประเมินไปทำไม จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผล มีหลายประการ
         2) วิเคราะห์เป้าหมายของการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้น หลักสำคัญของขั้นตอนนี้คือ ต้องตอบคำถามว่าสิ่งที่ต้องการวัดและประเมินผลคืออะไร
         3) เลือกใช้และสร้างเครื่องมือที่มีคุณภาพและเหมาะสม หลักสำคัญของขั้นตอนนี้คือ ต้องตอบคำถามว่า ควรวัดและประเมินอย่างไร ตั้งแต่การเลือกใช้เครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แล้วจึงลงมือสร้างเครื่องมือที่ต้องมีกระบวนการสร้างอย่างเป็นระบบคือ มีการออกแบบสร้างเครื่องมือ ลงมือสร้างเครื่องมือ ทดลองใช้ และตรวจสอบคุณภาพเครื่องเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านความตรงความเที่ยงของเครื่องมือ
         4) นำไปทดสอบ เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือแล้ว การนำเครื่องมือไปใช้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือปัจจัยรอบด้านต่างๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อการแสดงความสามารถของผู้เรียน
         5) ตรวจให้คะแนน เป็นขั้นตอนที่ต้องคำนึงถึงคือความยุติธรรม ต้องทำด้วยใจเป็นกลางไม่ลำเอียงหรืออคติ ตรวจให้คะแนนโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน
         6) ตัดสินคุณค่าของผลการเรียนรู้ หลักสำคัญของขั้นตอนนี้คือ ต้องตอบคำถามว่าควรตัดสินผลด้วยวิธีใดซึ่งต้องพิจารณาให้รอบคอบ ก่อนที่จะสรุปผลการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ และวิธีแปลความหมายเป็นสำคัญ
         7) รายงานและนำผลไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้เป้นขั้นตอนสำคัญเนื่องจากการวัดและประเมินผลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก
ตารางที่ 1.2 แนวคิดพื้นฐานและขั้นตอนสำคัญของการวัดและประเมิน

2. รูปแบบการวัดและประเมินการเรียนรู้

การวัดและประเมินการเรียนรู้มีรูปแบบ วิธีการหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสาระที่นำมาจำแนก ในที่นี้ขอนำเสนอเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ ( โชติกา ภาษีผลม,2556)
2.1 จำแนกตามจุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผล แบ่งได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
         1.)  การวัดและประเมินลเพื่อจัดตำแหน่ (Placement) เป็นการวัดและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความรู้     ความสามารถของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนรู้เพื่อได้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้มีพื้นฐานความรู้ความสามารถอยู่ในระดับใด หากพบว่าไม่มีความรู้หรือพื้นความรู้ไม่พอ ก็จะต้องปรับพื้นฐานก่อน แต่ถ้ามีพื้นความรู้ดีแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเรียนพื้นฐานนั้นๆ ซ้ำอีก เช่น แบบสอบความพร้อม (Readiness test) แบบสอบก่อนเรียน (Pretest) แบบสอบวัดความถนัด (Aptitude test)
         2.) การวัดและประเมินผลเพื่อคัดเลือก (Selection) เป็นการวัดและประเมินผลเพื่อใช้คัดเลือกคน โดยมีเกณฑ์การตัดสินผลและมีผลการตัดสินแบบรับกับไม่รับ ไม่ว่าจะเป็นการสอบคัดเลือกเข้าสถานศึกษาในสถานบันที่จำกัดการรับ
         3.) การวัดและประเมินผลเพื่อวินิจฉัย (Diagnosis) เป็นการวัดและประเมินผลเพื่อค้นหาว่าการที่ผู้เรียนเก่งหรืออ่อนเป็นเพราะเหตุใด และเก่งหรืออ่อนในเรื่องอะไร เพื่อหาสาเหตุในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวัดมีความแตกต่างจากแบบสอบทั่วไป
         4.) การวัดและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบ (Assessment) เป็นการวัดและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียนพัฒนาการของผู้เรียน ว่ามีความเจริญงอกงามเพียงใด โดนเปรียบเทียบเป็นระยะๆ คนละช่วงเวลา อาจจะเป็นช่วงก่อนเรียน เมื่อจบบทเรียน และเมื่อสิ้นภาคเรียนแต่ก็ต้องคำนึงถึงเนื้อหา เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของแต่ละบุคคลควรเป็นเนื้อหาเดียวกันตัวอย่างของเครื่องมือที่ใช้
         5.) การวัดและประเมินผลเพื่อพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดและประเมินผลเพื่อคาดคะเนล่วงหน้าว่าอานาคตจะสามารถเรียนได้สำเร็จหรือไม่ หรือควรเรียนต่ออะไร โดยหลักการคือ นำผลสอบในวันนี้เพื่อพยากรณ์อนาคตล่วงหน้า ตัวอย่างของเครื่องมือวัดประเภทนี้ เช่นแบบสอบวัดซึ่งอาจจัดทำเป็นชุดแบบสอบถามได้
         6.) การวัดและประเมินผลเพื่อประเมินค่า (Evaluation) การวัดและประเมินผลเพื่อสรุปคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของรายวิชาหรือในระดับชั้นนั้นเพียงใด โดยนำผลการวัดทั้งหมดตลอดภาคเรียนหรือตลอดปีการศึกษามาเป็นข้อมูลในการตัดสินผล ขั้นสุดท้ายในรูปของเกรด เช่น A-F หรือ 4-1 หรือในรูปของระดับคุณภาพ
2.2 จำแนกตามขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน แบ่งเป็น  3 ประเภท ดังนี้
         1.) การวัดและประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) เป็นการวัดและประเมินผลก่อนที่จะมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนว่ามีความรู้เพียงพอที่จะเรียนในรายวิชาใหม่หรือไม่ ตัวอย่างของงเครื่องมือวัดประเภทนี้ เช่น แบบสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ เป็นต้น
         2.) การวัดและประเมินผลระหว่างเรียน (Formative evaluation) เป็นการวัดและประเมินผลระหว่าที่จะมีการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่หากพบว่ามีข้อบกพร่องในเรื่องใดหรือในจุดประสงค์ใด ตัวอย่างของเครื่องมือวัดประเภทนี้ เช่นแบบสอบ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบปากเปล่าเป็นต้น
         3.) การวัดและประเมินผลหลังเรียน (Summative evaluation) เป็นการวัดและประเมินผลหลังจากที่สิ้นสุดการเรียนการสอนเพื่อตัดสิ้นผลการเรียนทั้งหมดของผู้เรียนว่ารอบรู้ในเนื้อหามากน้อยเพียงใด มีความสามารถในระดับใด ควนตัดสินได้-ตก ผ่าน-ไม่ผ่าน ตัวอย่างของเครื่องมือวัดประเภทนี้ เช่น แบบสอบ มาตรประมาณค่า
2.3 จำแนกตามการแปลความหมายของคะแนนแบ่งเป็น 3  ประเภทดังนี้
         1.) การวัดและประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-Referenced) เป็นการวัดและประเมินผลที่มีแนวคิดตั้งอยู่บนทฤษฎีของความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เชื่อว่าบุคคลสามารถเรียนรู้ได้แตกต่างกันในเวลาที่เท่ากัน ผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้ความสามารถสูงหรือต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มของผู้เรียนทั้งหมด แต่ไม่สามารถทราบสภาพความรู้ความสามารถที่แท้จริงของตนเองดังนั้นแบบสอบที่ใช้ต้องเป็นแบบสอบชุดเดียวกันหรือคู่ขนานและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาความตรง ความเที่ยง ความยาก และอำนาจจำแนกมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแบบสอบที่ดีต้องจำแนกผู้เรียนเก่ง-อ่อนได้
         2.) การวัดและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-Referenced) เป็นการวัดและประเมินผลที่มีแนวคิดตั้งอยู่บนทฤษฎีการเรียนเพื่อความรู้ที่ว่าด้วยการให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถอะไร ทำอะรได้บ้าง คะแนนที่ได้แทนความรู้ความสามารถของผู้เรียนในขอบเขตของเนื้อหาที่สำคัญของวิชาการวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนจึงเป็นการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่พึงมี
         3.) การวัดและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม เป็นการวัดและประเมินผลแบบผสม โดยมีแนวคิดตั้งอยู่บนทฤษฎีที่ว่าการเปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนกันเองภายในกลุ่มจะมีความหมายสมบูรณ์ขึ้นถ้าผู้เรียนได้มีความรู้ความสามรถตามคุณสมบัติขั้นต่ำระหว่างการเรียนการสอนแล้ว น่าจะทำให้การเปรียบเทียบคะแนนรวมภายในกลุ่มผู้เรียนเสร็จสิ้นการสอนมีความเหมาะสมและสามารถใช้ตัดสินระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
         สรุป หลักการวัดและประเมินผลตามแนวปฏิรูปการศึกษา เน้นพัฒนาการของผู้เรียน การใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานเดียวกันทุกคนมีความโปร่งใสและถ่ายโยงความรู้ไปสู่ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นการวัดและประเมินผลจึงมีจุดเน้นที่เปลี่ยนไป จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้สอนที่ต้องเข้าใจความหมาย ความสัมพันธ์ หลักการตลอดจนเทคนิคต่างๆของการวัดและประเมินผล เพื่อที่จะสามารถประยุคความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในสภาพการณ์ต่างๆตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนและสถานศึกษาต่อไป


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม