บทที่ 2 การสร้างและการใช้เครื่องมืวัดและประเมินการเรียนรู้

    บทที่ 2 การสร้างและการใช้เครื่องมืวัดและประเมินการเรียนรู้

          การนำเสนอเนื้อหาในบทนี้ได้เรียบเรียงหลักการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ทางการศึกษา ได้แก่ เครื่องมือวัดพุทธพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยเฉพาะเครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบวัดพุทธิสัย มีประเด็นที่สำคัญคือ การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ รวมทั้งมีแนวทางการวัดและประเมินการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เสนอเป็น 4 หัวข้อใหญ่

1.การสร้างและการใช้แบบทดสอบ

          สาระสำคัญในหัวข้อการสร้างและการใช้แบบทดสอบ ได้เสนอรายละเอียดเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ ประเภทของแบบทดสอบและการสร้างแบบทดสอบ ดังนี้

          1.1ประเภทของแบบทดสอบ

          เครื่องมือวัดและประเมินการเรียนรู้ที่ใช้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของผู้เรียน เป็นการวัดความสามารถทางสติปัญญา ดังนั้นเครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบทดสอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
                    1.1.1แบบทดสอบประเภทเสนอคำตอบ (Supply type) เป็นแบบทดสอบที่ให้อิสระแก่ผู้สอบในการเขียนบรรยายคำตอบแบบทดสอบประเภทนี้สามารถวัดได้หลายด้าน เช่น วัดความรู้ การใช้ภาษา ความคิดเห็น จำแนกได้เป็น
                    1) แบบทดสอบความเรียงไม่จำกัดคำตอบ (Essay - extended)
                    2) แบบทดสอบความเรียงจำกัดคำตอบ (Essay - restricted)
                    3) แบบทดสอบตอบสั้น (Short answer)
                    4) แบบทดสอบเติมคำให้สมบรูณ์ (Completion)

1) แบบทดสอบความเรียงไม่จำกัดคำตอบ (Essay - extended)

          เป็นข้อสอบที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการตอบมากกว่าแบบจำกัด โดยการเลือกข้อความรู้หลักการ ทฤษฎีหรือแนวคิดอื่นๆ มาเรียบเรียงสนับสนุนคำตอบเพื่อที่จะตอบให้ดีที่สุด ไม่จำกัดขอบเขตของคำตอบแต่ตอบภายใต้เวลาที่กำหนด ดังนั้นคำตอบจึงกว้างซึ่งอาจจะส่งผลต่อความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนที่ทำให้ผลการตรวจไม่สอดคล้องกัน ในกรณีที่ผู้ตรวจมีหลายคน หรือไม่มีความคงเส้นคงวาของผลการตรวจในกรณีที่มีการตรวจซ้ำ

          ตัวอย่างข้อสอบความเรียงไม่จำกัดคำตอบ
          จากกานที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพปัญหารูปแบบและกระบวนการวัดและประเมินการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จงอภิปรายถึงปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่ามีอะไรบ้าง จะเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
          การนำแบบทดสอบประเภทนี้ไปใช้ จึงเหมาะสำหรับใช้วัดความรู้ความสามารถทางสมองขั้นสูง ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า และการสร้างสรรค์ รวมทั้งผลการเรียนรู้ที่ซับซ้อนได้ดี โดยเฉพาะวัดความสามารถในการจัดระบบ เรียบเรียง การตีความ สรุป การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การเสนอแนวคิด การประเมินคุณค่าของแนวคิด การบูรณาการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆในรูปแบบใหม่ เป็นต้น

2) แบบทสอบความเรียงจำกัดคำตอบ (Restricted response)

          เป็นข้อสอบที่มีการจำกัดกรอบเนื้อหาและความยาวของคำตอบหรือเป็นข้อสอบที่มีการกำหนดแนวทางในการตอบค่อนข้างตายตัว โดยกำหนดขอบเขตของประเด็นในการตอบ ผู้ตอบต้องตอบภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด คำตอบนั้นจึงสั้นและแคบกว่าข้อสอบความเรียงไม่จำกัดคำตอบ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ผู้ตอบมีอิสระในการตอบและแสดงความรู้ ความสามารถ จึงส่งผลให้การตรวจสอบให้คะแนนมีความเที่ยงสูงกว่าแบบไม่จำกัดคำตอบ

          ตัวอย่างข้อสอบความเรียงแบบจำกัดคำตอบ
          จงเปรียบเทียบความแตกต่างของแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์และแบบทดสอบแบบอิงกลุ่ม โดยเน้นในประเด็นเรื่อง การสร้างข้อสอบ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ
การนำข้อสอบความเรียงจำกัดคำตอบไปใช้ เหมาะที่จะใช้วัดความรู้ความสามารถในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล การบรรยายถึงการนำหลักเกณฑ์ หลักการต่างๆ ไปใช้การแสดง ข้อโต้แย้งในประเด็นต่างๆการให้ข้อสรุป การบ่งชี้ถึงเงื่อนไขข้อตกลงที่จำเป็นการอธิบายถึงแนวทางวิธีการที่นำมาใช้ ลักษณะของข้อสอบความเรียงจำกัดคำตอบ สิ่งที่ค่อนข้างเป็นเนื้อหาที่จัดอยู่ในความสามารถในขั้นที่ต่ำกว่าและเป็นการวัดที่เฉพาะเจาะจงได้ครอบคลุมดีกว่าข้อสอบความเรียงแบบไม่จำกัดคำตอบ

          ข้อเสนอแนะในการสร้างข้อสอบความเรียง 
          1) สร้างข้อสอบความเรียงเมื่อต้องการวัดความสามารถ
          2) คำถามที่ถามสามารถวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนได้
          3) จำกัดขอบเขตของการตอบในตัวคำถามให้ชัดเจน โดยเฉพาะข้อสอบความเรียงจำกัดคำตอบ
          4) ใช้คำที่ทำให้มองเห็นแนวทางในการตอบที่ชัดเจน
          5) ไม่ควรใช้คำถามที่เริ่มต้นด้วย ใคร อะไร ที่ไหน เพราะคำเหล่านี้เป็นการถามที่วัดความสามารถในขั้นต่ำโดยเฉพาะขั้นความรู้ความจำมากกว่า
          6) ควรออกข้อสอบที่ต้องการให้ตอบสั้นจำนวนมากข้อมากกว่าข้อสอบที่ต้องการตอบยาวๆหลายหน้ากระดาษ
          7) กำหนดคะแนนและเวลาที่ให้ผู้เรียนตอบในแต่ละคำถาม
          8) ไม่ควรให้ผู้เรียนเลือกทำข้อสอบบางข้อ
          9) เตรียมเฉลยและกำหนดองค์ประกอบหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินคุณภาพคำตอบของผู้เรียนไว้ล่วงหน้า
          10) กำหนดความซับซ้อนของคำถามหรือแนวการตอบให้เหมาะสมกับระดับความรู้หรือวัยของผู้เรียน

          ข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบความเรียง
          1) กำหนดหรือเตรียมขอบเขตของคำตอบที่คาดหวังไว้ล่วงหน้าซึ่งคำตอบที่เตรียมไว้นั้นควรเป็นจุดสำคัญหรือประเด็นสำคัญ
          2) อ่านคำตอบของนักเรียนคราวๆ 4-5 คนเพื่อให้เห็นแนวทางในการตรวจทำให้สามารถกำหนดกฎเกณฑ์การมห้คะแนนเหมาะสมยิ่งขึ้น
          3) พยายามปิดชื่อผู้เรียน และไม่เรียงคำตอบของผู้เรียนตามลำดับเลขที่ซึ่งผู้สอนอาจจำเลขที่ของผู้เรียนได้
          4) การตรวจสอบข้อสอบควรตรวจทีละข้อหรือทีละคำถามสำหรับนักเรียนทุกคน และควรตรวจให้เสร็จในคราวเดียวกัรสำหรับข้อสอบข้อนั้นๆ เพื่อทำให้การให้คะแนนมีความเป็นปรนัยมากขึ้น
          5) ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่เหมาสมที่สุด ซึ่งวิธีการตรวจให้คะแนนข้อสอบความเรียง มี 2 วิธี คือ การตรวจแบบวิเคราะห์ (Analytic scoring) และ  การตรวจแบบสรุปรวม (Holistic scoring)

          ข้อดีของข้อสอบความเรียง
          1) สามารถใช้วัดความสามารถทางด้านสมองขั้นสูงได้ดี ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมด้านการวิเคราะห์ การประเมินค่า และการสร้างสรรค์
          2) เหมาะสำหรับวัดความสามารถในการจัดระเบียบการผสมผสานการบูรณาการ ความคิดริเริ่ม กระบวนการคิดต่างๆ ทักษะด้านการใช้ภาษาและการแก้ปัญหา
          3) เหมาะสำหรับวัดผลการเรียนรู้ซึ่งไม่สามารถวัดได้ด้วยข้อสอบปรนัย
          4) ให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการตอบเพื่อแสดงความสามารถ
          5) ใช้เวลาน้อยในการออกข้อสอบ
          6) ลดการเดาของผู้สอบได้

          ข้อจำกัดของข้อสอบความเรียง
          1) ความตรงของแบบทดสอบต่ำกว่าข้อสอบชนิดอื่นเนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องการสุ่มเนื้อหามาสอบ
          2) การตรวจให้คะแนนมีความเป็นอัตนัยมาก หรือขาดความเป็นปรนัยในการตรวจให้คะแนนมาก
          3) ใช้เวลาในการตรวจให้คะแนน ไม่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้เรียนจำนวนมาก ทำเป็นแบบสอบมาตรฐานที่ใช้กับกลุ่มใหญ่ได้ยาก

3) แบบทดสอบตอบสั้นและเติมคำ

ลักษณะของข้อสอบแบบเติมคำหรือแบบคำตอบสั้นผู้สอบต้องคิดและสร้างคำตอบขึ้นมาเอง แต่เป็นการเติมคำหรือคำตอบสั้นๆ เช่น เป็นคำ วลี จำนวน สัญลักษณ์ ข้อแตกต่างของข้อสอบแบบเติมคำ คำถามเป็นประโยชน์ที่ไม่สมบูรณ์ เว้นช่องว่างไว้ให้เติมเพื่อทำให้ใจความของประโยคสมบูรณ์ เช่น
          ถ้าใช้รูปแบบการตอบเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของแบบสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ........................และ................
          ส่วนข้อสอบแบบตอบสั้น คำถามเป็นประโยคคำถามโดยตรงมีใจความสมบูรณ์
ข้อเสนอแนะในการสร้างข้อสอบแบบเติมคำหรือแบบคำตอบสั้น
1) ควรใช้คำถามที่มุ่งให้คำตอบตอบด้วย คำ วลี สัญลักษณ์หรือจำนวน เป็นคำตอบสั้นและมีตำตอบที่แน่นอน
2) หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่ลอกจากตำลาโดยตรง
3) คำถามแต่ล่ะข้อ วัดเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญและแต่ล่ะข้อวัดเพียงประเด็นเดียว
4) คำถามที่ถามต้องชัดเจน ไม่คุมเครือ อ่านแล้วรู่ว่าคำถามต้องการถามอะไร
5) ควรเว้นช่องว่างสำหรับคำตอบ ที่เพียงพอและเท่าๆ กันในแต่ล่ะ หัวข้อ เพื่อลดการเดาคำตอบ
6) ช่องว่างที่เติมคำในแต่ล่ะข้อไม่ควรมากเกินไปหรือให้เติมหลายช่องว่างจะทำให้ผู้สอบเข้าใจผิดได้
7) คำที่ใช้เติมควรยุท้ายประโยค
8) กำหนดหน่วยที่ตามหลังตัวเลขที่ให้เติมเพื่อความมชัดเจนในการตอบ
9) หลีกเลี่ยงการสร้างคำถามที่ใช้คำชี้แนะคำตอบ
ข้อดีของข้อสอบแบบเติมคำหรือแบบคำตอบสั้น
1) ลดการเดา
2) สร้างง่าย รวดเร็ว
3) สามารถสร้างได้ครอบคลุมเนื้อหา
4) เหมาะสำหรับวัดการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ข้อจำกัดของข้อสอบแบบเติมคำหรือแบบตอบสั้น 
1) วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ในขอบเขตที่จำกัด ไม่เหมาะสำหรับการวัดพฤติกรรมการเรียนที่ซับซ้อน
2) หากคำถามไม่ชัดเจนจะทำให้คำตอบเป็นไปได้หลายอย่าง

          1.1.2  แบบทดสอบประเภทเลือกตอบ (Selection type )

          แบบทดสอบที่ให้ผู้สอบตอบตามตัวเลือกที่กำหนดไว้ ที่ผู้สอบคิดว่าเป็นคำตอบที่ถูก มีการตรวจให้คะแนนแบบมีกฎเกณฑ์ตายตัว ใครตรวจก็ให้คะแนนตรงกัน ตรวจกี่ครั้งก็ให้คะแนนตรงกัน จำแนกได้เป็น
          1) แบบทดสอบถูกผิด ( True-false)
          2) แบบทดสอบจับคู่ ( Matching )
          3) แบบทดสอบหลายตัวเลือก ( Multiple-choice)

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม