บทที่ 3 การวัดและประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย

บทที่ 3 การวัดและประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย

การวัดและประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ด้นนจิตพิสัยสำหรับการวัดประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน และในบริบทของสถานศึกษา

1.ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย

จิตพิสัย (Affective Domain) เกิดมาจากการแบ่งวัตถุประสงค์ทางการศึกษาออกเป็นหมวดหมู่หรือเรียกว่า อนุกรรมวิธานของวัตถุประค์การศึกษา (Taxonomy of educational objectives) ประกอบด้วย พุทธิสัย (Psychomtor domain) ของวัตถุประสงค์การศึกษาที่เน้นความสำคัญในเรื่องจิตพิสัย ลักษณะการนิยามองค์ประกอบของวัตถุประสงค์การศึกษาในลักษณะพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ ความรู้สึก จิตพิสัยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ
1.การรับรู้หรือการฟังหรือดูอย่างตั้งใจ (Receiving, attending)
1.1 การตระหนักรู้ (Awareness)
1.2 ความเต็มใจที่จะรับรู้ (Willingness to receive)
1.3 การควบคุมหรือการเลือกที่จะเอาใจใส่ (Controlled or selcted attention)
2.การตอบสนอง (Responding)
1.1 ความยินยอมใจการตอบสนอง (Acquiescence in responding)
1.2 ความเต็มใจที่จะตอบสนอง (Williingness to respond)
1.3 ความพึงพอใจในการตอบสนอง (Satisfaction in respond)
3.การสร้างคุณค่า (Valuing)
1.1 การยอมรับในคุณค่า (Acceptance of a value)
1.2 การชื่นชอบสำหรับคุณค่านั้น (Preference for a value)
1.3 การยึดมัดผูกพันหรือเชื่อมั่น (Commitment, conviction)
4.การจัดการอย่างเป็นระบบ (Organzation)
4.1 ความคิดรวบยอดทางค่านิยม (Conceptualization of a value)
4.2 การจัดระบบค่านิยม (Organzation of a value system)
5.การสร้างลักษณะนิสัยตามค่านิยม (Characterization by value of value complex)
5.1 การสร้างชุดข้อสรุปที่เป็นลักษณะทั่วไป (Generalized set of value complex)
5.2 การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization)

2.วิธีการและประเภทของเครื่องมือวัดจิตพิสัย

1. การสังเกตเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นธรรมชาติและการจัดประเภทการสังเกตแยกย่อยตามลักณษะ สถานการณ์การสังเกต และจำนวนผู้รับการสังเกต
1.1 สถานการณ์การสังเกต
เป็นได้ทั้งการสังเกตประกอบด้วยสถานการณ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
1.2 จำนวนผู้รับการสังเกตเป็นได้ทั้งการสังเกตเป็นรายบุคคลหรือการสังเกตเป็นกลุ่ม
2. การสัมภาษณ์/สอบถามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้รับสัมภาษณ์
2.1 การสัมภาษณ์ตามลักษณะการวางแผนการสัมภาษณ์
2.2 การแบ่งประเภทการสัมภาษณ์ตามจำนวนผู้รับการสัมภาษณ์สามารถแบ่งออกเป็นการสัมภาษณ์รายบุคคล และลักษณะการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม
2.3 การทดสอบด้วยแบบวัดทางจิตวิทยา
รูปแบบการวัดการวัดเจตคตินิยมใช้ประกอบด้วยมาตรประมาณค่า ได้แก่ มาตรวัดของเทอร์สโตน มาตรวัดของลิเคิร์ต มีระดับการตอบ 5 ระดับ เช่น เห็นด้วยมากที่สุด เห็นด้วย ตัดสินใจไม่ได้/เห็นด้วยปานกลาง ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยมากที่สุด
แนวทางการเขียนข้อคำถามเพื่อวัดคุณลักษณะทางจิตพิสัย ด้วยแบบวัดที่ให้ผู้ตอบรายงานตนเอง (Self-report test) McCoach, Gable, & Madura (2013) และ Edwards (1957 cited in Payne, 2003)
(1) ข้อความที่ใช้ควรมีบริบทเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อคำถามที่ถามเกี่ยวกถบอดีตหรืออนาคต
(2) ข้อความที่ใช้ควรเป็นสิ่งที่บุคคลจะสามารถตอบตามความคิดนึกคิดของตนไม่ใช่ข้อเท็จจริง
(3) ข้อความที่ใช้ควรมีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ควรหลีกเลี่ยงถามหลายนัยยะหรือมีรูปแบบการเขียนข้อความที่มีคำเขื่อมว่า "และ" หรือ "หรือ"
(4) ข้อความที่ใช้ควรมีเนื้อหาความที่สอดคล้องกับคุณลักณษะหรือสภาพเงื่อนไขในการวัด
(5) ข้อที่ใช้ไม่ควรเป็นข้อความมี่คนส่วนใหญ่หรือเกือบทุกคนจะรู้สึกเห็นด้วย เนื่องจากไม่สามารถจำแนกผู้ตอบได้ดี
(6) ข้อความที่ใช้ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน กระชับ ตรงไปตรงมา และง่ายต่อการตีความ
(7) ข้อความที่ใช้ไม่ควรมีคำ "เสมอ" "ไม่เคยเลย" "ตลอด" "ทั้งหมด" "เพียง" "แค่" "เกือบ"
(8) ข้อความที่ใช้ควรมีภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้ตอบหรือผู้ทำแบบวัดไม่ใช้ภาษาที่ยากต่อความเข้าใจ
(9) ข้อความที่ใช้ควรหลีกเลี่ยงคำที่เป็นนอเสธ

ความคิดเห็น