บทที่ 5 ความรู้ความจำเกี่ยวกับวิธีดำเนินการ
หน่วยที่ 5การสร้างข้อคำถามวัดพฤติกรรมด้านความรู้คามจำ
หัวข้อเรื่อง
5.1 ระดับพฤติกรรมทางสมอง5.2 ความรู้ความจำเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
5.3 ความรู้ความจำเกี่ยวกับวิธีการ
5.4 ความรู้ความจำเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในเนื้อเรื่อง
สาระสำคัญ
1. ความรู้ความจำเป็นความสามารถในการทรงไว้ รักษาไว้ ซึ่งข้อเท็จ เรื่องราว รายละเอียดต่าง ๆ ตลอดจนประสบการณ์ทั้งมวลของผู้เรียน ดังนั้นการวัดความรู้หรือความจำ จึงวัดจากความสามารถในการระลึกประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เรียน2. การวัดความรู้ความจำเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง เป็นการถามรายละเอียดของเนื้อหา และข้อเท็จจริงในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
3. การวัดความรู้ความจำเกี่ยวกับวิธีดำเนินการ เป็นการถามเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีปฏิบัติ ในการทำกิจการงาน และเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ
4. การวัดความรู้ความจำเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในเนื้อเรื่อง เป็นการถามความสามารถในการจดจำข้อสรุปหรือหลักการของเรื่องที่เกิดขึ้น จากการผสมผสานหาลักษณะร่วม เพื่อรวบรวมย่นย่อมาเป็นหลักหรือหัวใจของเนื้อเรื่องนั้น
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
1. บอกระดับของพฤติกรรมทางสมองจากที่ใช้สมองคิดน้อยที่สุด จนถึงใช้สมองคิดมากที่สุดได้
2. บอกคำนิยามของพฤติกรรมด้านความรู้ความจำได้
3. บอกได้ว่าคำถามที่กำหนดให้ เป็นคำถามวัดพฤติกรรมความรู้ความจำลักษณะใด
4. ยกตัวอย่างคำถามที่ใช้วัดพฤติกรรมความรู้ความจำลักษณะต่าง ๆ ได้
หน่วยที่ 5
การสร้างข้อคำถามวัดพฤติกรรมด้านความรู้ความจำ
หัวข้อเรื่อง 5.1 ระดับของพฤติกรรมทางสมอง
แบบทดสอบเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมทางสมองด้านพุทธิพิสัยหรือพฤติกรรมด้านความรู้ความคิดได้เหมาะสมที่สุด พฤติกรรมทางสมองสามารถจำแนกได้เป็น 6 ระดับ จากระดับต่ำสุดที่ใช้สมองคิดน้อยจนถึงระดับสูงสุดที่ต้องใช้ความสามารถในการคิดมาก ดังนี้1. ความรู้ความจำ (Knowledge) แบ่งเป็น
1.1 ความรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม
1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับสูตรกฎ และความจริง
1.2 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ
1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบีบยแบบแผน
1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม
1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท
1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์
1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ
1.3 ความรู้เกี่ยวกับการคิดรวบยอดของเนื้อเรื่อง
1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและขยายหลักวิชา
1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
2. ความเข้าใจ (Comprehension) แบ่งเป็น
2.1 การแปลความ2.2 การตีความ
2.3 การขยายความ
3. หารนำไปใช้ (Application)
4. การวิเคราะห์ (Analysis) แบ่งเป็น
4.1 การวิเคราะห์ความสำคัญ
4.2 วิเคราะห์ความสัมพันธ์
4.3 วิเคราะห์หลักการ
5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
5.1 สังเคราะห์ข้อความ
5.2 สังเคราะห์แผนงาน
5.3 สังเคราะห์ความสัมพันธ์
6. การประเมินค่า (Evaluation) แบ่งเป็น
6.1 การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายใน
6.2 การประเมินค่าโดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก
การสร้างข้อคำถามวัดพฤติกรรมทางสมองด้านความรู้ความจำ
ความรู้-ความจำ หมายถึงความสามารถในการระลึกได้ถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เคยประสบมา คำถามประเภทนี้จะเป็นคำถามที่ถามตามตำรา ตามประสบการณ์ที่ได้รับตามที่มีผู้บอกหรือสอนหรือถามความจำที่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่เรียนมา ความรู้ความจำแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่จำมากจนถึงจำน้อยๆ ดังนี้
1. ความรู้ความจำเกี่ยวกับเนื้อรื่อง
2. ความรู้ความจำเกี่ยวกับวิธีดำเนินการ
3. ความรุ้ความจำเกี่ยวกับความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง
หัวข้อเรื่อง 5.2 ความรู้ความจำเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
ความรู้ความจำเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง แบ่งแยกย่อยเป็น 2 ประการคือ
1. ถามความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม
ศัพท์ หมายถึง การให้ความหมายของคำนั้นๆ
นิยาม หมายถึง การให้ความหมายโดนเฉพาะของคำนั้นๆ
คำถามประเภทนี้มักจะถามสิ่งต่างๆต่อไป
1.1 ถามชื่อ ได้แก่ การถามเกี่ยวกับชื่อคน สัตว์ สิ่งของ อักษรย่อ สัญลักษณ์ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น
- พระองค์ดำเป็นชื่อของใคร
- ส่วนใดของดอกที่ใช้สำหรับผสมเกสร
- แผนที่บอกจำนวนน้ำฝนเรียกว่าอะไร
- ม.ค. เป็นอักษรของเดือนอะไร
- อำนาจลงโทษผู้กระทำผิด เรียกว่าอะไร ?
1.2 ถามคำศัพท์ ได้แก่ การให้แปลความหมายของคำศัพท์ คำยากหรือคำราชาศัพท์ให้เป็นภาษาสามัญ เป็นการถามตรงๆ ถามคำศัพท์ที่ปรากฎอยุ่ในพจนานุกรมหรือสารานุกรม เช่น
- คำว่า “อางขนาง” แปลว่าอะไร ?
- “ปรีดา” แปลว่าอะไร ?
- “ในหลวงเสด็จ…ป่า” จากข้อความนี้ควรเติมคำราชาศัพท์ใด
- การอาราธนาศีล แปลว่าอะไร ?
- คำว่า “ศาสนา” หมายถึงบุคคลเช่นใด ?
1.3 ถามความหมาย ได้แก่ การให้อธิบายความหมายของสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นคำเฉพาะของวิชานั้นๆ เช่น
- ข้อใดเป็นลักษณะของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
- เทคโนโลยี หมายถึงอะไร ?
- คำใดมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า “ดึง”
- มุมประชิด คือมุมชนิดใด ?
- จงให้นิยามคำว่า “สามเหลี่ยมหน้าจั่ว”
1.4 ถามตัวอย่าง ได้แก่ การให้ยกตัวอย่างของคำศัพท์ คำนิยาม สัญลักษณ์ หรือคน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งครูผู้สอนเคยยกตัวอย่างให้ดูมาแล้ว เช่น
- พืชชนิดใดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ?
- ข้อใดเป็รเลขคู่ ?
- ข้อใดไม่เป็นสสาร ?
- จงยกตัวอย่างแมลงที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ?
- ดาวดวงไหนเป็นดาวฤกษ์ ?
2. ถามความรู้เกี่ยวกับกฏและความจริง
กฏ หมายถึง สิ่งที่ตั้งขึ้นไว้เป็นหลักเกณฑ์ ความจริง หมายถึง สิ่งที่ปรากฏอยู่ตามเนื้อเรื่อง
คำถามประเภทนี้มักจะถามสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
2.1 ถามสูตร กฏ หลักการ ทฤษฎี สมมุติฐาน เช่น
- สูตรใดใช้สำหรับหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ?
- ราคาขายคืออะไร ?
- ยาว 3 มีความหมายว่ากระไร ?
- ข้อใดเป็นสูตรการหาความยาว ?
- วงกลมจะทับกันสนิทเมื่อใด ?
- จำนวน 555 เลข 5 ตัวกลางมีค่าเท่าใด ?
- การหาพื้นที่วงกลมต้องใช้สูตรใด ?
2.2 ถามความจริงเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเนื้อเรื่อง เช่น
- สาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกคือเรื่องใด ?
- ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้ากล่าวถึงเรื่องอะไร ?
- ขงเบ้งมักทำศึกชนะเพราะมีความรู้เรื่องใดมาก ?
2.3 ถามขนาดจำนวน ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับปริมาณมากน้อยของสิ่งต่างๆ เช่น
- ทวีปใดมีพื้นที่มากที่สุด ?
- ผลลัพธ์ในข้อใดมีค่าน้อยที่สุด ?
- ผัก “หนึ่งกิโลกรัมกับห้าขีด” มีน้ำหนักเท่าใด ?
- อากาศมีก๊าซฃนิดใดมากที่สุด ?
- ดวงจันทร์อยู่ห่างไกลจากโลกเป็นระยะทางประมาณเท่าใด ?
2.4 ถามสถานที่ ได้แก่ การถามเกี่ยวกับตำแหน่ง สถานที่ตั้ง ทิศทางของเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น
- เราได้ปุ๋ยคอกจากไหน ?
- แร่มีมากในภาคใด ?
- เมื่อมีคนย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน ต้องไปแจ้งที่ใด ?
- “แบคทีเรีย” มักพบที่ส่วนใดของร่างกาย ?
- พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์อยู่ในจังหวัดใด ?
2.5 ถามเวลา เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับกาลเวลายุคสมัยส่วนใหญ่ มักมีคำว่า วันใด, สมัยใด, ฤดูใด, ปีพ.ศ.ใด หรือนานเท่าใด เช่น
- วันจักรีตรงกับวันใด ?
- ผู้ชายไทยต้องรับหมายเกณฑ์ทหารเมื่ออายุเท่าใด ?
- กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยมานานกี่ปี ?
- โรงเรียนปิดภาคปลายในฤดูอะไร ?
2.6 ถามคุณสมบัติ ได้แก่ การถามคุณลักษณะที่สำคัญ ๆ ของเรื่องราวต่าง ๆ โดยอาจจะถามที่จุดเด่นหรือจุดด้อย ซึ่งเป็นคุณสมบัติประจำของสิ่งนั้น ๆ เช่น
- พลังงานมีคุณสมบัติอย่างไร ?
- บัตรประจำตัวชนิดใดใช้รับธนาณัติไม่ได้ ?
- ก๊าซชนิดใดที่ช่วยในการลุกไหม้ ?
- ข้าวมีสารอาหารชนิดใดมาก ?
- น้ำที่สะอาดที่สุด คือน้ำชนิดใด ?
2.7 ถามวัตถุประสงค์ ได้แก่ การถามเดี่ยวกับความมุ่งหมายของกิจการงาน การกระทำ และพฤติกรรมต่างๆ เช่น
- ทำไมจึงห้ามขุดลบตัวเลขในบัญชี ?
- ฝรั่งเศสเข้ามาติดต่อกับพระนารายณ์ เพราะจุดมุ่งหมายใดเป็นสำคัญ ?
- เราหา ค.ร.ม. ของเศษส่วนเพื่ออะไร ?
- รัฐบาลสร้างถนนเพื่ออะไร ?
- ทำไมเราจึงต้องมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ?
2.8 ถามสาเหตุและผลที่เกิด เช่น
- ภาคใต้ของไทยฝนตกซุกกว่าภาคอื่นๆ เพราะเหตุใดมากที่สุด ?
- มนุษย์พยายามผสมพันธ์พืชและสัตว์เพื่ออะไร ?
- สิ่งใดเป็นเหตุทำให้เกิดฤดูกาล ?
- การกลั้นปัสสาวะจะให้โทษแก่อวัยวะใด ?
- รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นมหาราชเพราะการกระทำใด
2.9 ถามประโยชน์และคุณโทษ ได้แก่ การถามถึงคุณค่าของการกระทำ เหตุการณ์ และสิ่งต่างๆทั้งทางดีและทางเลว เช่น
- แม่น้ำเจ้าพระยามีประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุดในด้านใด ?
- ยาเสพติดชนิดใดมีอันตรายมาก ?
- ไส้เดือนช่วยทำไร่ในด้านใด ?
- การปลูกฝี สามารถป้องกันโรคอะไรได้ ?
- ลมชนิดใดเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ?
2.10 ถามสิทธิหน้าที่ ได้แก่การถามถึงอำนาจหน้าที่ และกิจที่ต้องกระทำของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะละเมิดหรือหยุดปฏิบัติไม่ได้ เช่น
- คนไทยประเภทใดไม่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ?
- กระทรวงใดทำหน้าที่เป็นแม่บ้านของประเทศ ?
- ครู คือผู้ทำหน้าที่อะไร ?
- พุทธศาสนิกชนที่ดี ควรมีหน้าที่อะไร ?
- สิทธิของคนไทยตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีหน้าที่อะไรบ้าง ?
2.9 ถามประโยชน์และคุณโทษ ได้แก่ การถามถึงคุณค่าของการกระทำ เหตุการณ์ และสิ่งต่างๆทั้งทางดีและทางเลว เช่น
- แม่น้ำเจ้าพระยามีประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุดในด้านใด ?
- ยาเสพติดชนิดใดมีอันตรายมาก ?
- ไส้เดือนช่วยทำไร่ในด้านใด ?
- การปลูกฝี สามารถป้องกันโรคอะไรได้ ?
- ลมชนิดใดเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ?
2.10 ถามสิทธิหน้าที่ ได้แก่การถามถึงอำนาจหน้าที่ และกิจที่ต้องกระทำของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะละเมิดหรือหยุดปฏิบัติไม่ได้ เช่น
- คนไทยประเภทใดไม่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ?
- กระทรวงใดทำหน้าที่เป็นแม่บ้านของประเทศ ?
- ครู คือผู้ทำหน้าที่อะไร ?
- พุทธศาสนิกชนที่ดี ควรมีหน้าที่อะไร ?
- สิทธิของคนไทยตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันมีหน้าที่อะไรบ้าง ?
หัวข้อเรื่อง 5.1 ความรู้ความจำเกี่ยวกับวิธีดำเนินการ
หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการทำกิจกรรมต่างๆ และเรื่องราวเหตุการณ์ ซึ่งจะเขียนคำถามได้ 5 แบบ คือ
1.ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน
ได้แก่ การถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน แบบฟอร์ม หรือขนบธรรมเนียม ประเพณีตามที่สังคมได้กำหนดว่า ควรปฏิบัติอย่างไร หรือนิยมปฏิบัติแบบไหน เช่น
- ควรใช้กระดาษสีอะไรเขียนจดหมาย ?
- เรารดน้ำผู้ใหญ่ในวันไหน ?
- แผนผังของกลอนแปดเป็นอย่างไร ?
- การพูดในที่ประชุมควรขึ้นต้นอย่างไร ?
- สุภาพชนควรแต่งกายอย่างไร ?
2. ความรู้เกี่ยวกับลำดับชั้นและแนวโน้ม
ได้แก่ การถามเกี่ยวกับการเรียงลำดับขั้นตอนของเรื่องราว เหตุการณ์ และการปฏิบัติงานว่าควรเรียงลำดับอะไรก่อน-หลัง และเหตุการณ์ต่างๆ มีความโน้มเอียงไปในทิศทางใด จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น
- เมล็ดพืชจะงอกส่วนใดออกมาก่อน ?
- ในสมัยโบราณใครมักได้เป็นกษัตริย์ ?
- ศีลห้าห้ามข้อใดเป็นข้อแรก ?
- จงเรียงลำดับกษัตริย์ ในราชวงศ์จักรี ?
- จังหวัดใดมีพลเมืองมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพฯ ?
3. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภท
คำถามชนิดนี้ต้องการวัดว่าเด็กสามารถจดจำวิธีจัดหมู่เหล่าของสิ่งต่างเรื่องนั้นๆ ได้หรือไม่ เช่น
- ทองคำจัดว่าเป็นแร่ชนิดใด ?
- ข้อใดไม่เข้าพวก ?
- สัตว์อะไรเป็นประเภทเดียวกับ ช้าง ม้า วัว ?
- น้ำเป็นสารประเภทใดในวิชาเคมี ?
- ประเทศใดมีการปกครองต่างจากไทย ?
4. ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์
ได้แก่ การถามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการวินิจฉัยตีค่าสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ว่าสิ่งใดดีหรือเลว ผิดหรือถูก มากหรือน้อย ควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่ ฯลฯ เช่น
- อาหารที่ดีมีลักษณะเช่นไร ?
- คำกล่าวที่ว่าสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตแตกต่างกันนั้นใช้อะไรเป็นเครื่องมือตัดสิน ?
- จดหมายราชการมีอะไรเป็นที่สังเกต ?
- เราถือว่าปรอทเป็นโลหะ เพราะยึดเกณฑ์ข้อใดเป็นสำคัญ ?
- บัตรสนเท่ห์ต่างกับจดหมายธรรมดาตรงไหน ?
- นักเรียนจะช่วยรักษาความเป็นไทยได้โดยวิธีใด ?
- การส่งข่าวชนิดใดเร็วที่สุด ?
- การจำกัดขยะที่ถูกวิธีควรทำอย่างไร ?
- ควรขนาดพันธ์ต้นชบาด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสม ?
- ผลลัพธ์ของโจทย์ปัญหาข้อนี้ คือเท่าไหร่ ?
หมายถึง การถามความสามารถในการจดจำข้อสรุปหรือหลักฐานของเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหาลักษณะร่วม เพื่อรวบรวมและย่นย่อลงมาเป็นหลัก หรือหัวใจของเนื้อหานั้น คำถามความรู้รวบยอดในเรื่องมี 2 แบบ คือ
1. ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา
ได้แก่ การถามเกี่ยวกับหลักการหรือหัวใจของเรื่อง และการขยายหลักการของเรื่องไปสู่เรื่องอื่น ๆ เช่น
-ประเทศอินเดียกับไทยสิ่งใดที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด ?
-บ้านเมืองจะเจริญเราต้องคำนึงถึงสิ่งใดก่อน ?
-ก๊าซเมื่อมีความร้อนจะขยายตัวเพราะเหตุใด ?
-ในการบวกลบเศษส่วนต้องถือหลังเช่นไร ?
2. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
ได้แก่ การถามความสามารถในการโยง ความสัมพันธ์จากรายละเอียดหรือหลักวิชาต่าง ๆ มาลงสรุปเป็นเนื้อหาสาระสำคัญจนตั้งเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎี หรือโครงสร้างที่มีลักษณะรวมกัน เช่น
-คำกล่าวนี้สอดคล้องกับทฤษฎีใด ?
-หมอก น้ำค้าง น้ำฝน เป็นปรากฎการณ์ประเภทใดของไอน้ำ ?
-ดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์มีลักษณะใดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ?
5.ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ
เป็นการถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานตามหลักวิชา ซึ่งเป็นการกระทำที่ได้เรียนไปแล้วหรือได้เคยสอนไว้แล้วว่าสิ่งนั้นหรือกิจการนั้นจะต้องทำโดยวิธีใดหรือปฏิบัติอย่างไรหรือควรทำวิธีใดจึงจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด เช่น- นักเรียนจะช่วยรักษาความเป็นไทยได้โดยวิธีใด ?
- การส่งข่าวชนิดใดเร็วที่สุด ?
- การจำกัดขยะที่ถูกวิธีควรทำอย่างไร ?
- ควรขนาดพันธ์ต้นชบาด้วยวิธีใดจึงจะเหมาะสม ?
- ผลลัพธ์ของโจทย์ปัญหาข้อนี้ คือเท่าไหร่ ?
หัวข้อเรื่อง 5.4 ความรู้ความจำเกี่ยวกับความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง
ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่องหมายถึง การถามความสามารถในการจดจำข้อสรุปหรือหลักฐานของเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหาลักษณะร่วม เพื่อรวบรวมและย่นย่อลงมาเป็นหลัก หรือหัวใจของเนื้อหานั้น คำถามความรู้รวบยอดในเรื่องมี 2 แบบ คือ
1. ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยายหลักวิชา
ได้แก่ การถามเกี่ยวกับหลักการหรือหัวใจของเรื่อง และการขยายหลักการของเรื่องไปสู่เรื่องอื่น ๆ เช่น
-ประเทศอินเดียกับไทยสิ่งใดที่คล้ายคลึงกันมากที่สุด ?
-บ้านเมืองจะเจริญเราต้องคำนึงถึงสิ่งใดก่อน ?
-ก๊าซเมื่อมีความร้อนจะขยายตัวเพราะเหตุใด ?
-ในการบวกลบเศษส่วนต้องถือหลังเช่นไร ?
2. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
ได้แก่ การถามความสามารถในการโยง ความสัมพันธ์จากรายละเอียดหรือหลักวิชาต่าง ๆ มาลงสรุปเป็นเนื้อหาสาระสำคัญจนตั้งเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎี หรือโครงสร้างที่มีลักษณะรวมกัน เช่น
-คำกล่าวนี้สอดคล้องกับทฤษฎีใด ?
-หมอก น้ำค้าง น้ำฝน เป็นปรากฎการณ์ประเภทใดของไอน้ำ ?
-ดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์มีลักษณะใดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ?
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น